วิธีการประเมิน

ประวัติการทำงาน (CV) และใบสมัคร

ผู้ว่าจ้างจะพิจารณาว่าประสบการณ์และคุณสมบัติของคุณมีความเหมาะสมกับความต้องการของงานหรือไม่ โปรดอย่าลืมว่าผู้สัมภาษณ์มักจะถามคำถามตามข้อมูลที่คุณให้ไว้ในประวัติการทำงาน ดังนั้น สิ่งสำคัญคือคุณต้องให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องตามความเป็นจริง และชัดเจนที่สุด พึงระลึกเสมอว่า โดยปกติแล้ว ว่าที่ผู้ว่าจ้างนั้นจะต้องอ่านประวัติการทำงานเป็นจำนวนมาก และมักจะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่คุณให้

แบบทดสอบความสามารถ

แบบทดสอบความสามารถจะดูถึงขอบเขตความสามารถที่คุณปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่างๆ ของงาน ตัวอย่างเช่น การใช้เหตุผลทางภาษาและคำนวณ ผู้ว่าจ้างมักจะสนใจในศักยภาพที่คุณจะสามารถทำงานแต่ละอย่างได้สำเร็จ ในกรณีนี้ ผู้ว่าจ้างอาจใช้วิธีการประเมินที่มุ่งจำลองแง่มุมต่างๆ ของงานดังกล่าว (ดู แบบฝึกหัดจำลองสถานการณ์ด้านล่าง)

แบบสอบถามด้านบุคลิกภาพ

แบบสอบถามด้านบุคลิกภาพจะประเมินพฤติกรรมส่วนบุคคล กล่าวคือ ประเมินวิธีที่คุณชอบใช้ทำงาน ซึ่งไม่เชื่อมโยงกับความสามารถของคุณ แต่เกี่ยวข้องกับการที่คุณมองตัวเองในแง่ของบุคคลิกภาพของคุณเอง เช่น วิธีที่คุณใช้สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และวิธีที่คุณใช้จัดการกับความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ รูปแบบของพฤติกรรมนั้นไม่มีถูกหรือผิด แต่พฤติกรมบางอย่างอาจมีความเหมาะสมกับบางสถานการณ์มากหรือน้อยแล้วแต่กรณี

แบบฝึกหัดจำลองสถานการณ์

การฝึกหัดนี้ได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อจำลองสถานการณ์งานบางอย่างที่จำเป็นสำหรับงานอันเป็นเป้าหมาย และควรมีความชัดเจนว่าจะประเมินทักษะด้านใด
ตัวอย่างได้แก่:

  • แบบฝึกหัดกลุ่ม
  • การนำเสนอ
  • การสวมบทบาท

เมื่อมีการใช้วิธีการคัดเลือกและการประเมินหลายอย่างร่วมกัน จะเรียกได้ว่า ‘ศูนย์การประเมิน’

การสัมภาษณ์

เป็นไปได้มากว่าคำถามจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ตลอดจนความสามารถในการทำงานของคุณ และความต้องการของงาน ซึ่งควรมีรายละเอียดอยู่ในประกาศรับสมัครงาน สิ่งสำคัญคือต้องมีความซื่อสัตย์และใช้ตัวอย่างที่มีความเกี่ยวข้องจากอาชีพการงาน การศึกษา หรือชีวิตส่วนตัวของคุณ ซึ่งแสดงให้ผู้สัมภาษณ์ประจักษ์ถึงทักษะความเชี่ยวชาญที่กำลังพูดถึงในระหว่างการสัมภาษณ์

เคล็ดลับกระบวนการสรรหา

ใช้เวลาเพื่อประเมินอย่างถี่ถ้วนว่างานนี้เหมาะกับคุณจริงหรือไม่ โดยตั้งคำถามต่อไปนี้ :

  • งานนี้ต้องการอะไรและให้ผลตอบแทนอะไรบ้าง
  • งานนี้จะให้อะไรแก่ฉันบ้าง ในแง่ของโอกาสก้าวหน้าในงานอาชีพและผลประโยชน์ต่างๆ
  • เมื่อพิจารณาที่องค์กร ฉันคิดว่าค่านิยมและภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นสิ่งที่พอใจหรือไม่

  • ยื่นใบสมัครโดยใช้รูปแบบที่บริษัทต้องการ เช่น ใบสมัครหรือประวัติการทำงาน
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถี่ถ้วน
  • ให้ข้อมูลที่เจาะจงไว้อย่างชัดเจนในประกาศสมัครงาน
  • ระบุถึงความสำเร็จและทักษะความเชี่ยวชาญของคุณให้ชัดเจน (นี่ไม่ใช่เวลาที่ต้องถ่อมตัว)
  • รู้จักตนเอง ลองเขียนรายการจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณสำหรับงานนี้ขึ้นมา
  • อธิบายเกี่ยวกับตัวคุณเองและประสบการณ์ของคุณ ทั้งในงานและนอกเหนือจากงาน และเตรียมตัวอย่างของทักษะความเชี่ยวชาญต่างๆ ให้พร้อม

ถ้าคุณมีความต้องการพิเศษ โปรดชี้แจงให้ผู้ว่าจ้างเข้าใจโดยเร็วที่สุด

  • ทำความเข้าใจกับการประเมินผลที่คุณจะทำ และสิ่งที่การประเมินจะแสดงให้ผู้ว่าจ้างทราบว่าคุณมีความเหมาะสมกับงานหรือบทบาท
  • เตรียมตัวให้พร้อมโดยใช้เครื่องมือในเว็บไซต์นี้
  • คิดให้รอบคอบว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณคืออะไรบ้าง ข้อมูลนี้จะมีความสำคัญในการสัมภาษณ์

  • ผู้ประเมินจะดูว่าคุณทำแบบฝึกหัดได้ดีเพียงใด ไม่ใช่ดูว่าคุณเข้าใจคำสั่งดีเพียงใด ดังนั้น โปรดตั้งใจฟังคำสั่งที่ได้รับ อย่าลังเลที่จะถาม ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าคุณต้องทำอะไรบ้าง

  • ถ้าการประเมินประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การทำแบบฝึกหัดในลักษณะทีม หรือการสวมบทบาท โปรดใส่ใจกับสัญญาณที่ไม่ใช่ภาษาพูด เช่น การสบสายตา การแสดงออกทางสีหน้า และอากัปกิริยา

  • อย่าด่วนสรุปเร็วเกินไปเกี่ยวกับวิธีการที่คุณควรตอบสนอง หากคุณพยายามเดาว่าผู้ประเมินต้องการอะไร คุณอาจเดาผิดก็ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือเป็นตัวของตัวเอง และตอบอย่างตรงไปตรงมา อย่าลืมว่าคุณจะไม่ทำประโยชน์อะไรให้ตัวเองเลย หากได้งานที่ไม่เหมาะกับตัวคุณ

  • ถ้ามีแบบฝึกหัดมากกว่าหนึ่งชุด คุณจะมีโอกาสมากมายในการแสดงศักยภาพของคุณ หากคุณรู้สึกว่าคุณทำแบบฝึกหัดชุดหนึ่งได้ไม่ดี อย่าเพิ่งท้อใจ ผลลัพธ์จากการทำแบบฝึกหัดทั้งหมดต่างหากที่จะได้รับการพิจารณาร่วมกัน

องค์กรจำนวนมากจะให้ส่งรายงานผลให้คุณ ไม่ว่าคุณจะผ่านการประเมินหรือไม่ก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงจุดแข็งและสิ่งที่ควรปรับปรุง ตลอดจนแนวทางการพัฒนาในอนาคต หากองค์กรไม่เสนอรายงานผลให้ คุณมีสิทธิถามว่าจะขอรับรายงานผลได้หรือไม่

ลองทดสอบ

ทำแบบทดสอบฝึกหัดแบบเต็มความยาวเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินที่จะเกิดขึ้น

ทําแบบทดสอบฝึกหัด